วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

6 คำถาม ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ Netbook

กระแสของ Netbook ยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประมาณว่า Netbook มียอดขายประมาณ 10 % ของยอดขายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (ในบางภูมิภาคมียอดขายเกือบ 20 % ของยอดขายคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคนั้น) ซึ่งผมได้เคยโพสต์เกี่ยวกับข้อควรพิจารณาก่อนที่ตัดสินใจว่าจะซื้อเน็ตบุ๊ค หรือโน้ตบุ๊คไปแล้วครั้งหนึ่งในบทความเรื่อง "Netbook หรือ Notebook?" สำหรับทความนี้จะรวบรวมข้อควรพิจารณาต่างๆ หลังจากตัดสินใจว่าจะซื้อเน็ตบุ๊คแล้ว ซึ่งจะเป็นเสมือนเช็คลิสต์ที่ช่วยให้ตัดสินใจซื้อ Netbook ได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด

1. การใช้งานง่ายหรือไม่?
คำ ถามแรกและอาจจะสำคัญที่สุด คือ การใช้งานง่ายหรือไม่ ? เนื่องจากการใช้งาน Netbook โดยทั่วไปนั้นจะเป็นลักษณะคอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2 ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คหลัก ดังนั้น เพื่อให้การแชร์ข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่าย ทั้ง 2 เครื่องควรจะใช้ระบบปฏิบัติการระบบเดียวกัน และเครื่อง Netbook จะต้องรองรับการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สายหรือระบบเครือข่ายบรอดแบนด์ 3G ได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการแชร์ข้อมูลรวมถึงการออนไลน์

2. การทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ของคุณ?
คำ ถามที่สองคือ ซอฟต์แวร์ต่างๆ บน Netbook สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ เครื่องเล่น MP3 และ ฯลฯ ได้หรือไม่ นอกจากนี้ ควรต้องมีซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานร่วมกับเอกสารที่ท่านใช้บนเครื่อง คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คหลักได้ด้วย ซึ่งคำถามนี้จะเป็นแนวทางสำหรับการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการบนเครื่อง Netbook

นั้น คือ หากท่านต้องการต่ออุปกรณ์ อย่างเช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ เครื่องเล่น MP3 และ ฯลฯ ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีไดรเวอร์สำหรับระบบปฏิบัติการที่ท่านเลือก หรือหากท่านใช้ Microsoft Office บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คหลัก ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีบนเครื่อง Netbook มีซอฟต์แวร์ที่สามารถแอคเซสไฟล์ต่างๆ ที่สร้างจาก Microsoft Office นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงชอฟต์แวร์เสริมสำหรับใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง ท่องอินเทอร์เน็จ รับ-ส่งอีเมล แชท ฯลฯ

3. ขนาดของจอภาพและคีย์บอร์ดเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่?
คำ ถามต่อมาคือขนาดของจอภาพและคีย์บอร์ดเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่? ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินโจซื้อ Netbook โดยการเลือกนั้นคงต้องพิจารณาทั้งเหมาะสมในการใช้งานและความสะดวกในการพกพา ซึ่งสองสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของตัว Netbook ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น หากเลือกจอภาพขนาดเล็กเช่น 8.9 นิ้ว อาจจะพกพาได้สะดวกแต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการใช้งานคีย์บอร์ดเนื่องจากขนาดของ ปุ่มแต่ละปุ่มจะค่อนข้างเล็ก สำหรับคำแนะนำทั่วไปนั้น ควรเลือก Netbook ที่มีขนาดจอภาพ 10 นิ้วเป็นอย่างต่ำจะดีที่สุด

4. ต้องการฮาร์ดแวร์ระดับใด?
คำถามที่สี่จะเป็นการพิจารณาด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งมีข้อที่ต้องพิจารณา 4 ข้อด้วยกันคือ

1. ขนาดของจอภาพและคีย์บอร์ด:
หัวข้อนี้มีรายละเอียดตามหัวข้อด้านบน

2. ความเร็วของซีพียู
การ เลือกซีพียูของ Netbook นั้นมีหลักพิจารณาเช่นเดียวกับการเลือกซีพียูของเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ค คือ เลือกสเปกสูงสุดเท่าที่งบประมาณจะเอื้ออำนวย ซึ่งเครื่อง Netbook ส่วนใหญ่จะใช้ซีพียู Intel Atom แนะนำให้เลือกรุ่นที่ใช้ซีพียูซึ่งมีความเร็วไม่น้อยกว่า 1GHz

3. ขนาดของหน่วยความจำ
ใน ส่วนของหน่วยความจำนั้นก็มีหลักพิจารณาเช่นเดียวกับซีพียู คือ เลือกสเปกสูงสุดเท่าที่งบประมาณจะเอื้ออำนาย โดย Netbook ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับหน่วยความจำ 1GB แต่ถ้าต้องการสมรรถนะการทำงานเพิ่มขึ้นแนะนำให้อัพเกรดเป็น 2GB

4 ขนาดของหน่วยเก็บข้อมูล
การ เลือกขนาดของหน่วยเก็บข้อมูลนั้น จะขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละท่าน ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ในงานลักษณะไหน ตัวอย่างเช่น หากใช้งานรับส่งอีเมลและท่องอินเทอร์เน็ต ควรเลือกขนาดของหน่วยเก็บข้อมูลแบบ Solid State Drive โดยที่ขนาดไม่ต้องมาก เช่น 32GB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น รูปภาพ หนัง และเพลง ก็ควรเลือกฮาร์ดดิสก์แบบ SATA โดยที่ขนาดอย่างต่ำ 120GB ขึ้นไป

หมาย เหตุ: การเลือกชนิดของขนาดของหน่วยเก็บข้อมูลซึ่งมี 2 แบบ คือ SSD และ Hard Disk SATA โดยแต่ละแบบนั้นมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดย SSD นั้นมีข้อดีคือ ผลิตความร้อน เสียงรบกวน และใช้พลังงานน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์แบบ SATA แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องความจุ (ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 32GB) ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความจุที่สูงกว่า แต่ก็ใช้พลังงานมากกว่า

5. ความปลอดภัยในการออนไลน?
คำ ถามที่ห้าคือมีความปลอดภัยเมื่อทำการออนไลน์หรือไม่ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความปลอดภัยในการออนไลน์ คือ ระบบปฏิบัติการและเบราเซอร์ โดยควรเลือกใช้โปแกรมที่สามารถป้องการกันภัยคุกคามต่างๆ บนโลกออนไลน์ ตัวอย่างเช่น phishing, Cross-Site Scripting, ClickJacking, identity theft ได้

นอกจากนี้ ควรพิจารณาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรมป้องกัน Spyware และ โปรแกรมป้องกัน Malware โปรแกรมประเภท Parental controls และโปรแกรม Firewall เป็นต้น

6. ระดับการซัพพอร์ตทางเทคนิคที่ต้องการ ?
คำ ถามสุดท้าย คือ ท่านต้องการการซัพพอร์ตทางเทคนิคในระดับใด? คำถามนี้เน้นไปทางด้านของซอฟท์แวร์ นั้นคือ หากท่างคาดหวังการการซัพพอร์ตทางเทคนิคในระดับที่สูง ก็ควรเลือกซอฟท์แวร์ที่มีการรับประกันเรื่องการซัพพอร์ต ซึ่งนอกจากจะได้ความสะดวกในการในการแก้ไขในกรณีประสบปัญหาแล้ว ยังได้รับบริการเสริมอื่นๆ เช่น การอัพเดทระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ แต่ถ้าหากท่านสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง การเลือกใช้ฟรีซอฟต์แวร์หรือซอฟต์แวร์ประเภทโอเพนซอร์สก็เป้นทางเลือกที่ดี

HP Mini 110 XP
HP Mini 110 XP (ภาพจาก: HP)

HP Mini 2140
HP Mini 2140 (ภาพจาก: HP)

Dell Inspiron Mini 9
Dell Inspiron Mini 9 (ภาพจาก: Dell)

Dell Inspiron Mini 10
Dell Inspiron Mini 10 (ภาพจาก: Dell)

ที่มา
• http://windowsteamblog.com/blogs/windowsexperience/archive/2009/06/17/top-6-things-to-consider-before-buying-a-small-notebook-pc.aspx

10 อันดับไไวรัสที่แพร่ระบาดทั่วโลก

Trend Micro รายงาน 10 อันดับไวรัสที่ระบาดทั่วโลกในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2552 โดยรวบรวมข้อมูลจากการตรวจพบไวรัสคอมพิวเตอร์จากโปรแกรมของเทรนด์ไมโคร 3 ตัวด้วยกัน คือ โปรแกรม HouseCall ซึ่งเป็นระบบบริการสแกนไวรัสแบบเว็บเบสสำหรับองค์กร การให้บริการ free on-line virus scanner บนอินเทอร์เน็ตของ Trend Micro และ Trend Micro Control Manager (TMCM) ซึ่งเป็นโซลูชันป้องกันไวรัสสำหรับองค์กร โดยไวรัสที่มีการพบมากเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสอง ยังคงเหมือนกับเดือนที่แล้ว ได้แก่ MAL_OTORUN2 และ MAL_VUNDO-9 ตามลำดับ สำหรับอันดับอื่นมีรายละเอียดดังนี้

1. MAL_OTORUN2 [32,631,573]
2. MAL_VUNDO-9 [15,564,816]
3. MAL_OTORUN1 [4,479,739]
4. CRYP_MANGLED [1,660,314]
5. CRYP_TAP-6 [690,463]
6. POSSIBLE_HIFRM-5 [685,607]
7. CRYP_NSANTI-X [682,573]
8. POSSIBLE_VUNDO-9 [598,177]
9. MAL_HIFRM [564,716]
10. WORM_DOWNAD.AD [496,118840]



หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไวรัสที่มีการระบาดมากที่สุดในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2552 อันดับแรกยังคงเป็น Mal_Otorun2 และอันดับสองก็ยังคงเดิมคือ WORM_DOWNAD.AD หรือ Conficker หรือ Downadup นั่นเอง

Hiren's BootCD รวบรวมเครื่องมือใช้ในตรวจสอบ แก้ไข และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

โปรแกรม Hiren's BootCD เป็นซีดีที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ สำหรับใช้ในตรวจสอบ แก้ไข และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และวินโดวส์ ล่าสุดวันที่ 12 มิถุนายน 2552 อัพเดทเป็นเวอร์ชัน 9.9 โดยมีเครื่องมือหลายตัวที่อัพเดทเป็นเวอร์ชันใหม่ รวมถึงการอัพเดทซิกเนเจอร์ไฟล์หรือฐานข้อมูลของโปรแกรมต่างๆ อีกหลายตัว

ประเภทของเครื่องมือใน Hiren's BootCD 9.9
ใน Hirens BootCD 9.9 นั้น มีเครื่องมือต่างๆ จำนวน 17 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้
1. Partition Tools
2. Disk Clone Tools
3. Antivirus Tools
4. Recovery Tools
5. Testing Tools
6. RAM (Memory) Testing Tools
7. Hard Disk Tools
8. System Information Tools
9. MBR (Master Boot Record) Tools
10. BIOS / CMOS Tools
11. MultiMedia Tools
12. Password Tools
13. NTFS (FileSystems) Tools
14. Dos File Managers
15. DOS Tools
16. Windows Tools
17. Other Tools

รายชื่อโปรแกรมใน Hiren's BootCD 9.9
รายชื่อโปรแกรมทั้งหมดที่มีใน Hiren's BootCD 9.9 สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ รายชื่อโปรแกรมทั้งหมดใน Hiren's BootCD

ดาวน์โหลด Hiren's BootCD 9.9
โปรแกรม Hiren's BootCD มีขนาดประมาณ 177 MB ท่านใดสนใจสามารถอ่านรายละเอียดและดาวน์โหลด Hiren's BootCD 9.9 ได้ฟรีจากเว็บไซต์ผู้พัฒนา Hiren.info

คลิกที่นี่เพื่อ Download Hiren's BootCD 9.9 จากเว็บไซต์ hirensbootcd.net (ต้องใส่ Captcha code)

หมายเหตุ:
ไฟล์ ที่ได้จากการดาวน์โหลดโปรแกรม Hiren's BootCD 9.9 นั้น โดยทั่วไปจะชื่อ Hirens.BootCD.9.9 แต่ชื่อไฟล์อาจจะแตกต่างไปจากนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ให้บริการดาวน์โหลด ในส่วนนามสกุลไฟล์ส่วนมากจากเป็น .rar แต่หากเป็น .zip ก็ให้ทำการแตกไฟล์ตามวิธีการแบบเดียวกันกับ .rar

วิธีการเขียน Hiren's BootCD 9.9 ลงแผ่นซีดี
หลัง จากทำการดาวน์โหลดโปรแกรม Hiren's BootCD 9.9 จะได้ไฟล์ชื่อ Hirens.BootCD.9.8.rar หรือ (zip) จากนั้นสามารถทำการเขียนลงแผ่นซีดี ตามขั้นตอนดังนี้

1. ให้ทำการแตกไฟล์ Hirens.BootCD.9.9.rar หรือ (zip) โดยใช้ 7-zip หรือ winrar หรือ winzip ซึ่งจะได้ไฟล์ Hiren's.BootCD.9.9.iso โฟลเดอร์ keyboard patch และเท็กซ์ไฟล์อีก 2 ไฟล์
2. หากไฟล์ keyboard patch ยังเป็นซิปไฟล์อยู่ให้ทำการแตกไฟล์ก่อน จะได้ไฟล์ทั้งหมด 4 ไฟล์ คือ keyb.dat, keyb.sys, patch.bat และ readme.txt

3. สร้างไฟล์เดอร์ใหม่โดยอาจจะตั้งชื่อเป็น Hiren เป็นต้น จากนั้นก็อปปี้ไฟล์ Hiren's.BootCD.9.9.iso และไฟล์ keyb.dat, keyb.sys, Patch.bat ลงในโฟลเดอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ ดังรูปที่ 1


รูปที่ 1

4. ในโฟลเดอร์ที่สร้างในขั้นตอนที่ 3 ให้ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Patch.bat จากนั้นกด Y ดังรูปที่ 2 รอจนการทำงานแล้วเสร็จ จากนั้นกดคีย์ใดๆ เพื่อจบการแพตช์ ซึ่งจะได้ไฟล์ชื่อ US Patched Hiren's.BootCD.9.9.iso ดังรูปที่ 3


รูปที่ 2


รูปที่ 3

5. ทำการเขียนไฟล์ US Patched Hiren's.BootCD.9.9.iso ลงแผ่นซีดี ซึ่งขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียน โดยในขั้นตอนการเขียนให้เลือกเป็น Disk image หรือ Image file หากเลือกเป็น Data จะไม่สามารถบูตได้

ตัวอย่างการเขียนด้วยโปรแกรม Nero Express
1. เปิดโปรแกรม Nero Express
2. ในหน้าต่างโปรแกรม Nero Express ดังรูปที่ 4 คลิก Image, Project, Copy


รูปที่ 4

3. ในหน้าต่างโปรแกรม Nero Express ดังรูปที่ 4 ในคอลัมน์ตัวเลือกด้านขวามือ ให้คลิก Disk Image or Save Project
4. ให้ท่องไปยังโฟลเดอร์ที่สร้างในขั้นตอนที่ 3 ในหัวข้อ "วิธีการเขียน Hiren's BootCD 9.9 ลงแผ่นซีดี" แล้วเลือกไฟล์ US Patched Hiren's.BootCD.9.9.iso ดังรูปที่ 5 แล้วคลิก Open


รูปที่ 5

5. ในหน้าต่างโปรแกรม Nero Express ดังรูปที่ 6 ให้คลิก Burn เพื่อเขียนแผ่น แล้วรอจนการทำงานแล้วเสร็จ


รูปที่ 6

ระวังไวรัส ติดมาจากไฟล์ pdf

Adobe Reader, Acrobat and Flash Player Vulnerability

พบช่องโหว่ร้ายแรงใน Flash Player 9 และ 10 Adobe Reader และ Acrobat 9 และมีการโจมตี Zero-Day ผ่านทางไฟล์ PDF แล้ว
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

วัน ที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา Adobe ได้ออก Security advisory เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า มีการพบช่องโหว่ความปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรงระดับ Critical ใน 2 โปรแกรม ดังนี้
• โปรแกรม Flash Player (v9.0.159.0 และ v10.0.22.87) ทั้งเวอร์ชันสำหรับระบบ Windows Macintosh และ Linux
• ในไฟล์ authplay.dll ซึ่งมาพร้อมกับโปรแกรม Adobe Reader และ Acrobat 9.1.2 ทั้งเวอร์ชันสำหรับระบบ Windows Macintosh และ Linux

ช่อง โหว่ทำให้ระบบมีความเสี่ยง เนื่องจากแฮ็คเกอร์สามารถใช้เป็นช่องทางในการโจมตีระบบได้ โดยการฝังโค้ดอันตรายไว้ในไฟล์เอกสาร PDF และเมื่อผู้ใช้ทำการเปิดไฟล์ดังกล่าวด้วยโปรแกรม Adobe Reader หรือ Acrobat หรือ Flash Player เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ ก็จะทำให้ระบบถูกโจมตีในทันที

ในกรณีที่โจมตีประสบความสำเร็จ แฮกเกอร์จะสามารถเข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และที่สำคัญการโจมตีนี้จะเป็นแบบ Zero-Day Attack เนื่องจากเป็นการโจมตีผ่านทางช่องโหว่ที่ยังไม่มีแพตช์สำหรับแก้ไข ซึ่งปัจจุบันมีรายงานถึงการโจมตีระบบโดยใช้ช่องโหว่นี้แล้ว โดยเป้าหมายจะอยู่ที่ Adobe Reader v9 เวอร์ชันสำหรับระบบ Windows เป็นหลัก

สำหรับ การออกแพตช์เพื่อปิดช่องโหว่นั้น Adobe กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา โดยคาดว่าจะออกอัพเดทสำหรับ Flash Player v9 และ v10 เวอร์ชันสำหรับระบบ Windows Macintosh และ Linux ในวันที่ 30 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ (ในส่วนของอัพเดทสำหรับระบบ Solaris ยังต้องรอการพัฒนา)

สำหรับ การออกแพตช์เพื่อปิดช่องโหว่โปรแกรม Adobe Reader และ Acrobat v9.1.2 เวอร์ชันสำหรับระบบ Windows Macintosh และ UNIX นั้น จะออกในวันที่ 31 กรกฎาคมที่จะถึงนี้

คำแนะนำเพื่อป้องกันระบบจากการโจมตี
เพื่อความปลอดภัย ให้ผู้ใช้ทำการป้องกันตนเอง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของ US-CERT ตามวิธีการดังนี้

1. Disable Flash ใน Adobe Reader และ Acrobat
ทำ การลบ เปลี่ยนชื่อ หรือยกเลิกการเข้าถึงไฟล์ authplay.dll และ rt3d.dll เพื่อป้องกันการโจมตี แต่จะทำให้เกิดข้อผิดผลาดเมื่อเปิดไฟล์ธรรมดาที่มีเนื้อหาเป็น SWF โดยทั่วไป ไฟล์ authplay.dll และ rt3d.dll จะเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ดังนี้
Adobe Reader v9
C:\Program Files\Adobe\Reader 9.0\Reader\authplay.dll
C:\Program Files\Adobe\Reader 9.0\Reader\rt3d.dll

Adobe Acrobat v9
C:\Program Files\Adobe\Acrobat 9.0\Acrobat\authplay.dll.
C:\Program Files\Adobe\Acrobat 9.0\Acrobat\rt3d.dll

2. สำหรับผู้ที่ใช้ Windows Vista ให้ทำการเปิดใช้งาน UAC (User Access Control) ซึ่งจะช่วยป้องกันการโจมตีระบบได้

3. ในส่วนของผู้ใช้ Flash Player ให้ผู้ใช้ระวังในการเข้าเยี่ยมเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ สำหรับวิธีการ Disable Flash Player อ่านรายละอียดได้ที่เว็บไซต์ Securing Your Web Browser (ภาษาอังกฤษ)